วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

รณรงค์ลดภาวะโลกร้อน

เรามาช่วยกันรณรงค์ลดภาวะโลกร้อนกันเถอะ










จัดทำโดย นายชัยวุฒิ ทวีศักดิ์
โปรแกรมวิชาการศึกษาพิเศษ หมู่ 2
ชั้นปีที่ 5 รหัสประจำตัวนักศึกษา 4781003486

ทำไมต้องช่วยกันลดภาวะโลกร้อน ?
สภาวะโลกร้อนเป็นปรากฏการณ์สืบเนื่องมาจากการที่โลกไม่สามารถระบายความร้อนที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ออกไปได้อย่างที่เคยเป็นทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากการที่มนุษย์เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตพลังงาน และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึงเป็นก๊าซเรือนกระจกตัวสำคัญที่สุดออกสู่ชั้นบรรยากาศเป็นจำนวนมหาศาล ทำให้เกิดปรากฏการณ์ “เรือนกระจก” ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อน และผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อนมี่เห็นได้ชัดคือ มหันตภัยต่อมวลมนุษย์ เช่น การละลายของน้ำแข็งขั้วโลก ทำให้ปริมาณน้ำในมหาสมุทรทั้งโลกเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ การเกิดมหัตภัยต่างๆ เช่น สึนามิ แผ่นดินไหว พายุหมุน โรคระบาดใหม่ๆ ที่มีความถี่มากขึ้น และรุนแรงมากขึ้น
ปัจจุบันองค์กรต่างๆทั้งในและต่างประเทศ ภาครัฐและภาคเอกชนได้หันมาให้ความสนใจ และให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อนนี้ได้เช่นกัน ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถหยุดภาวะโลกร้อนนี้ได้ในอนาคต แต่ถ้าพวกเราทุกคนร่วมมือกันอาจจะชะลอปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อนให้ช้าลงได้
จะช่วยกันลดภาวะโลกร้อนได้อย่างไร ?
การใช้ไฟฟ้าที่สิ้นเปลือง ก็เป็นสาเหตุหนึ่งในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ เพราะไฟฟ้าที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เป็นพลังงานที่เกิดจากการเผาผลาญพวกถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ต้องนำเข้ามา กระบวนการพวกนี้จะก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก และมลพิษทางอากาศ ดังนั้นแค่เพื่อนๆประหยัดไฟ ก็สามารถที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้แล้ว รวมทั้งยังจะช่วยในเรื่องของปัญหาเศรษฐกิจได้อีกด้วย
ถ้าเราคิดจะซื้อเครื่องไฟฟ้าซักชิ้นควรที่จะพิจารณาอะไรบ้าง










สัญลักษณ์ไฟเบอร์ 5
1. Energy - Saving อันนี้หลายๆคนคงรู้อยู่แล้ว นั่นก็คือเลือกเครื่องไฟฟ้าที่กินไฟน้อย โดยดูจากสัญลักษณ์เบอร์ 5 นั่นเอง นอกจากจะช่วยลดภาวะโลกร้อนแล้ว ยังจะช่วยลดรายจ่ายของเราอีกด้วย

















สัญลักษณ์ Eco-Labal ของประเทศต่างๆ
2. Eco - Friendly หรือ Eco - Label เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าสินค้านั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายระบบนิเวศน์ ย่อยสลายง่าย นำไปรีไซเคิลได้








ฉลากเขียว
3. Green - Label ฉลากเขียว อันนี้เป็นโครงการที่มีการร่วมมือกันจากหลายฝ่าย โดยมีคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เพื่อที่จะพิจารณาออกฉลากเขียวนี้ให้กับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

บทความเกี่ยวกับสื่อมวลชนเพื่อการศึกษา

นายชัยวุฒิ ทวีศักดิ์ โปรแกรมวิชาการศึกษาพิเศษ หมู่ 2 ชั้นปีที่ 5 รหัสประจำตัว 4781003486

บทความเกี่ยวกับ “สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา”
จากการได้ฟังการนำเสนอเรื่องสื่อมวลชนเพื่อการศึกษาของเพื่อนซึ่งได้จับประเด็นที่สนใจของเพื่อนกลุ่มที่ 3 มาคือ สื่อมวลชนเพื่อการศึกษาหมายถึง องค์กรที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษาให้บุคคลทั่วไปได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร แต่ข้อมูลที่เพื่อนกลุ่มที่ 3 ได้นำเสนอนั้นยังไม่ได้คำตอบที่ชัดเจนมากนัก จึงได้ทำการค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับสื่อมวลชนเพื่อการศึกษา คือ
สื่อมวลชน หมายถึง กระบวนการนำสารหรือการสื่อสารไปยังคนจำนวน ซึ่งซับซ้อนกว่าการสื่อสารประเภทอื่นผู้ส่งสารอาจเป็นกลุ่มบุคคลซึ่งรวมตัวกันเป็นองค์การ หรือสถาบันก็ได้และรับสารจำนวนมากนั้นอยู่กระจัดกระจายไม่มีปฏิกิริยาสัมพันธ์ต่อกัน ด้วยเหตุที่ปฏิกิริยาโต้ตอบที่เกิดขึ้นจากผลของการสื่อสารซึ่งไม่ปรากฏโดยตรงหรือทันทีทันใด แต่มักจะแสดงออกในรูปของ ความพอใจหรือไม่พอใจ
สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา หมายถึง การนำสื่อมวลชนมาใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้เนื้อหาบทเรียนไปยังผู้เรียนหรือผู้รับจำนวนมากได้ในเวลาเดียวกัน
การที่ต้องการนำเอาสื่อมวลชนมาใช้ประโยชน์ในทางการศึกษา เนื่องมาจากสาเหตุใดบ้างอัตราเพิ่มของประชาชนสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นสาเหตุที่ทำให้รัฐไม่สามารถจัดการศึกษาในระบบของโรงเรียนให้เพียงพอกับประชาชนได้ ประชาชนขาดความเสมอภาคทางการศึกษาความรู้และวิทยาการแขนงต่างๆได้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆมากมาย ซึ่งมีผลทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงอันมีผลผลักดันให้คนในสังคมต้องปรับปรุงและพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
การนำสื่อมวลชนมาใช้ในทางการศึกษาจะเกิดประโยชน์ต่อการศึกษา หรือการเรียนการสอนอย่างไรบ้างสามารถแพร่กระจายความรู้เนื้อหาสาระในสาขาวิชาต่างๆ ไปสู่คนจำนวนมากไปอย่างรวดเร็วเปิดโอกาสให้ประชาชนที่กระจายอยู่ตามที่ต่างๆ ทั่วประเทศ มีโอกาสได้รับประโยชน์ทางการศึกษาเท่าเทียมกัน ช่วยแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนวัสดุการศึกษาของระบบโรงเรียนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาของรัฐ ประเภทของสื่อมวลชน จำแนกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ1. สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร ตำราเรียน 2. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อระบบไฟฟ้า ได้แก วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์
สื่อมวลชนมีหน้าที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้1. ให้ข่าวสารและรายงานความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่างๆ2. เป็นแหล่งกลางในการเสนอความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งต่อปัญหาที่เกิดในสังคม3. ให้สาระบันเทิงแก่ประชาชน4. ให้ความรู้ทางการศึกษาและบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ5. ให้บริการด้านธุรกิจการค้าแนวทางการนำมาใช้ทางการศึกษา
เครื่องมือในการสอน ผู้สอนสามารถนำรายการวิทยุ โทรทัศน์ มาผนวกกับการสอน และเป็นสื่อที่ให้เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับบทเรียนนั้นโดยตรงเครื่องมือในการปฏิบัติการ โดยการใช้กล้องโทรทัศน์ช่วยในการจับภาพจากกล้องจุลทัศน์เพื่อฉายให้ผู้เรียนเห็นบนจอรับภาพสื่อสอนแทนครู ในกรณีที่มีการขาดแคลนครู ก็อาจใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เพื่ออกอากาศการสอนได้เพื่อเสริมความรู้ เป็นการใช้รายการวิทยุ โทรทัศน์ ข่าวสารบทความเสริมให้ผู้เรียนได้รับความรู้สื่อในการศึกษาระบบเปิด โดยใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เป็นสื่อเพื่อดำเนินการสอนส่งไปยังผู้เรียนที่อยู่ตามบ้าน
สรุป สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา เป็นการนำเอา สื่อหลาย ๆ อย่าง มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มคุณค่าทางการสอน โดยสามารถแพร่กระจายความรู้เนื้อหาสาระในสาขาวิชาต่างๆ ไปสู่คนจำนวนมากไปอย่างรวดเร็ว และเปิดโอกาสให้ประชาชนที่กระจายอยู่ตามที่ต่างๆ ทั่วประเทศ มีโอกาสได้รับประโยชน์ทางการศึกษาเท่าเทียมกันเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2552

วิธีระบบ ( หมวกไหมพรมถักมือ )

การประยุกต์ใช้วิธีระบบเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้หรืองานต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน

Input

1. อุปกรณ์ มีดังนี้
- แม่พิมพ์ถักหมวกไหมพรม
- ด้ายไหมพรม
- ไม้เสียบลูกชิ้น
- เข็มทอง

- กรรไกร
2. ความรู้ที่จำเป็นต้องรู้ ได้มาจากการ
สอบถามผู้รู้
3. แหล่งที่มาของความรู้ คือ ผู้รู้
(นางสาวสุดารัตน์ นามบุญลือ)

Process
สัปดาห์ที่ 1 ศึกษาวิธีทำ และ ตัวอย่าง
สัปดาห์ที่ 2 ทดลองปฏิบัติจริง
สัปดาห์ที่ 3 คิดหาวิธีการทำให้ผลงาน
ออกมามีคุณภาพดีที่สุด
สัปดาห์ที่ 4 ปรับปรุงผลงานให้มีผลที่ดี
ที่สุด

Output
หมวกไหมพรมถักมือ


Feedback
ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลงานออกมาสวยงามและนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

Input

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ มีดังนี้

1. แม่พิมพ์ถักหมวกไหมพรม











2. ด้ายไหมพรม











3. ไม้เสียบลูกชิ้น












4. เข็มทอง












5. กรรไกร













Process

สัปดาห์ที่ 1 ศึกษาวิธีทำและตัวอย่าง
ศึกษาวิธีการทำและตัวอย่างจากผู้รู้ โดยได้ศึกษาจากหมวกไหมพรมที่ผู้รู้ได้ทำขึ้นมา และสอบถามวิธีการทำวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการประดิษฐ์ รายละเอียด ข้อควรระวังในการทำหมวกไหมพรม

สัปดาห์ที่ 2 ทดลองปฏิบัติจริง
ทดลองปฏิบัติจริงโดยมีผู้รู้ (นางสาวสุดารัตน์ นามบุญลือ) คอยให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ แล้วลงมือปฏิบัติด้วยตนเองจนสำเร็จ ดังขั้นตอนรายละเอียดต่อไปนี้

จากการปฏิบัติงานพบปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
ปัญหาที่พบ
1. ด้ายไหมพรมหลุดออกจากแม่พิมพ์
2. การเก็บปลายด้ายยังไม่ละเอียด

ขั้นตอนในการทำ มีดังนี้
1. ใช้มือจับด้ายแนบชิดกับแม่พิมพ์












2. วนด้ายไปด้านซ้ายของแม่พิมพ์โดยสลับเสากัน













3. เมื่อวนด้ายครบรอบหนึ่งแล้วก็สลับด้านวนอีกรอบหนึ่ง













4. ใช้ไม้เสียบลูกชิ้นถักสลับกันไปมาจนได้ตามขนาดที่ต้องการ













5. เมื่อได้ขนาดที่ต้องการแล้วก็ทำการเก็บปลายด้ายด้านเดียว















6. ถอดหมวกที่ทำเสร็จแล้วออกจากแม่พิมพ์















7. เก็บปลายด้ายอีกด้านหนึ่งให้เรียบร้อย
















8. ได้หมวกที่เสร็จสมบูรณ์


















สัปดาห์ที่ 3 คิดหาวิธีการทำให้ผลงานออกมามีคุณภาพดีที่สุด
หลังจากที่พบปัญหา ผู้รู้ได้แนะนำ และหาวิธีการแก้ไขปัญหา ดังนี้
วิธีการแก้ปัญหา
1. ให้ใช้มือจับเส้นอยู่ตลอดเพื่อป้องกันเส้นด้ายหลุดออกจากแม่พิมพ์
2. เก็บปลายด้ายให้ละเอียดโดยการมัดให้แน่นเพื่อป้องกันการหลุดของเส้นด้าย
สัปดาห์ที่ 4 ปรับปรุงผลงานให้มีผลที่ดีที่สุด
จากการที่ได้ปฏิบัติงาน การผลิตหมวกไหมพรมถักด้วยมือได้มีข้อบกพร่องหลายด้าน และได้ปรับปรุงรายละเอียดของชิ้นงาน ให้มีขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละคน และเก็บรายละเอียด เพิ่มความคงทน ให้สามารถใช้งานได้จริงอย่างสมบูรณ์

Output

วัตถุประสงค์ของการทำงานในครั้งนี้ คือ หมวกไหมพรมถักมือ และมีผลการปฏิบัติดังนี้



























Feedback

ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ได้หมวกไหมพรมถักมือ ที่มีความสวยงาม และสามารถนำไปใช้ได้จริง
เราสามารถพัฒนาผลงานให้ดีขึ้นได้โดยการปรับปรุงส่วนต่างๆจากข้อบกพร่อง ขั้นตอนต่างๆ เป็นไปตามขั้นตอน
สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ
จากการทำหมวกไหมพรมถักมือ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการนำวิธีระบบมาใช้กับสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวันสิ่งที่ได้รับจากการปฏิบัติงานชิ้นนี้ คือ เป็นคนที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานชิ้นใหม่ สามารถนำผลงานไปประยุคต์ใช้ในการทำผลงานครั้งต่อไปได้

วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นายชัยวุฒิ ทวีศักดิ์

ชื่อเล่น วุฒิ

วัน/เดือน/ปี เกิด 29 สิงหาคม 2528

ระดับการศึกษา

จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนบัวใหญ่

ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

โปรแกรมวิชาการศึกษาพิเศษ หมู่ 2

เบอร์โทร 084-8270720